วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ซอฟแวร์ประยุกต์

 5.3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์

       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น
       การทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจาก ขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลายๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย
       ซอฟต์แวร์ประยุกต์มีอยู่มากมาย อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทางและซอฟต์แวร์สำเร็จอ่านเพิ่มเติม

ซอฟแวร์ระบบ

5.2 ซอฟต์แวร์ระบบ

       คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลีนุกซ์ เป็นต้น
       คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบปฏิบัติการ ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ ให้แสดงภาพ ให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์ นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์ยังทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ กับตัวเครื่อง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนซอฟต์แวร์ระบบทั้งสิ้น
       เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงาน ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุ (load) ระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่นอ่านเพิ่มเติม

ความรู้เบื้องต้นเกียวกับคอมพิวเตอร์

เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำงานของคนทำงานได้ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  ซึ่งถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีเพียงเฉพาะตัวอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์อยู่เพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถทำงานได้เป็นได้เพียงวัตถุชิ้นหนึ่งเท่านั้น การที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยซอฟต์แวร์ในการสั่งให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน สำหรับในที่นี่จะกล่าวถึงการแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์ ลักษณะย่อยของซอฟต์แวร์แต่ละประเภท การจำแนกประเภทของซอฟต์แวร์ตามลักษณะการใช้งาน และการพิจารณาซอฟต์แวร์ตามหลักของลิขสิทธิ์อ่านเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ชนิดของการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

วิธีเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
วิธีเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
สำหรับหลายๆ คนแล้ว การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องที่น่าปวดหัว เพราะนอกจากคำแนะนำจากคนใกล้ตัวที่มีความรู้หรือเป็นกูรูด้านไอทีแล้ว ไหนจะมีข้อมูลตามเว็บ หรือหนังสือคู่มือต่างๆ ที่ทำให้งงมากขึ้น พอไปถึงหน้าร้าน คนขายยิ่งทำให้งงเข้าไปใหญ่ด้วยศัพท์ไอทีที่ไม่คุ้นหู
สิ่งสำคัญที่เราต้องจำไว้เป็นอันดับแรกคือ คนที่จะเป็นผู้ใช้งานเครื่องคอมพ์ที่คุณจะซื้อก็คือตัวคุณเอง ไม่ใช่เพื่อน พนักงานขาย หรือกูรูด้านไอทีที่เขียนบทความแนะนำต่างๆ เพียงคุณรู้หลักง่ายๆ ต่อไปนี้ ก็จะช่วยให้การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ลักษณะการใช้งาน
ก่อนที่จะซื้อ Computer คุณควรถามต้วเองก่อนว่า "คุณต้องการนำ Computer มาใช้ทำอะไรบ้าง" คุณเป็นนักเล่นเกมส์ตัวยง หรือชอบใช้งานเกี่ยวกับมัลติมีเดียต่างๆ เช่นแชทกับเพื่อน ตัดต่อภาพ อัพโหลดเพลง หรือใช้งานไม่ค่อยบ่อย คุณต้องการคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเพื่อทำงานอยู่ที่บ้านเท่านั้น หรือโน้ตบุ๊กที่คุณสามารถพกพาไปใช้งานที่อื่นได้ งานอดิเรกที่คุณชอบ รวมทั้งกลุ่มเพื่อนและครอบครัวของคุณ พวกเขาใช้คอมพิวเตอร์เพื่อติดต่อสื่อสารกันด้วยรึเปล่า ซึ่งแน่นอนว่าคุณจะเป็นคนที่ตอบคำถามข้างต้นได้ดีที่สุด เมื่อได้คำตอบแล้วเราไปดูหลักในการเลือกซื้อข้อต่อไปกันเลย
ซีพียู (CPU) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor)
เป็นอุปกรณ์ชิ้นหลัก เปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ซีพียูจะมีหน้าที่ประมวลผลคำสั่งต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีความเร็วที่สูงกว่าเดิมมาก และมีจำนวนแกน Core มากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ผลิต CPU 2 ค่ายดัง ได้แก่ Intel และAMD
เมนบอร์ด (Main Board)
หลังจากเลือกค่ายผู้ผลิตได้แล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นจะเป็นการเลือก Main board ที่ต้องการใช้งาน โดยต้องเลือกให้รองรับกับ CPU ที่เลือกไว้ โดยยี่ห้อที่เป็นที่นิยมได้แก่ Asus, Gigabite, Intel, ... ซึ่งการเลือกเมนบอร์ดจะต้องดูข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยว่ารองรับอะไรบ้าง
แรม (RAM) หรือ หน่วยความจำ (Memory)
การเลือก RAM จะพิจารณาในเรื่องของ ประเภทของ RAM ซึ่งปัจจุบันจะนิยม DDR3 ที่มีความเร็วสู
กว่า DDR2 จากนั้นจะความจุของ RAM ปัจจุบัน RAM ที่จะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ควรต่ำกว่า 2 GB ส่วนเรื่องจำนวน Slot, ความเร็ว RAM อาจจะต้องพิจารณาร่วมกับข้อจำกัดของ Main Board ด้วย สำหรับการรับประกันส่วนใหญ่จะ Life Time กันหมดแล้ว ยี่ห้อที่เป็นที่นิยมได้แก่ Kingston, Kingmax, ...
ฮาร์ดดิส (Harddisk)
การเลือก Harddisk มักจะดูที่ความจุเป็นหลัก ส่วนการเชื่อมต่อปัจจุบันจะเป็นแบบ SATA II เกือบทั้งหมดแล้ว อีกอยากที่ควรสนใจคือระยะเวลารับประกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3-5 ปี สำหรับคุณสมบัติอื่น เช่น ขนาด 3.5 นิ้ว ความเร็ว 7,200 รอบต่อวินาที ส่วนยี่ห้อที่นิยมได้แก่ Seagate, Western, ...
การ์ดจอ (Display Adapter) หรือ กราฟิคการ์ด (Graphic Card)
การเลือกการ์ดจอให้พิจารณาจากการใช้งานเป็นหลัก กรณีที่ไม่ได้เอาไปเล่นเกมส์ หรือ งานออกแบบ 3 มิติ คุณสามารถเลือกซื้อการ์ดจอธรรมดาๆ มาใช้ได้เลย ส่วนที่ควรสนใจคือ ควรตรวจสอบเรื่องการเชื่อมต่อ (Slot) ว่ารองรับกับMainboard ที่คุณเลือกหรือไม่ เช่น AGP, PCI Express ที่สำคัญคือ ถ้าเมนบอร์ดของคุณมีการ์ดจอออนบอร์ดอยู่แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องซื้อการ์ดจอเลย (สังเกตุได้จากดูว่าเมนบอร์ดมีช่องต่อสายจอให้หรือเปล่า) สำหรับยี่ห้อให้ดูที่ ชิปเซต (Ship Set) ที่นิยมได้แก่ ATi, Nvidia , Intel
ไดร์ฟ Drive DVD
ควรเลือกซื้อแบบ DVD Writer ส่วนคุณสมบัติอื่นไม่ต่างกันมากนัก ถ้าเป็นเครื่องที่ใช้ส่วนตัวแนะนำให้ซื้อติดเครื่องไว้ จะช่วยให้คุณติดตั้งโปรแกรมได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าเป็นเครื่องสำหรับใช้ในบริษัทหลายๆ เครื่องคุณอาจจะซื้อ External DVD Writer มาใช้ตัวเดียวก็พอ
ที่มา kosolpon.blogspot.com
วิธีเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
สำหรับหลายๆ คนแล้ว การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องที่น่าปวดหัว เพราะนอกจากคำแนะนำจากคนใกล้ตัวที่มีความรู้หรือเป็นกูรูด้านไอทีแล้ว ไหนจะมีข้อมูลตามเว็บ หรือหนังสือคู่มือต่างๆ ที่ทำให้งงมากขึ้น พอไปถึงหน้าร้าน คนขายยิ่งทำให้งงเข้าไปใหญ่ด้วยศัพท์ไอทีที่ไม่คุ้นหู
สิ่งสำคัญที่เราต้องจำไว้เป็นอันดับแรกคือ คนที่จะเป็นผู้ใช้งานเครื่องคอมพ์ที่คุณจะซื้อก็คือตัวคุณเอง ไม่ใช่เพื่อน พนักงานขาย หรือกูรูด้านไอทีที่เขียนบทความแนะนำต่างๆ เพียงคุณรู้หลักง่ายๆ ต่อไปนี้ ก็จะช่วยให้การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ลักษณะการใช้งาน
                ก่อนที่จะซื้อ Computer คุณควรถามต้วเองก่อนว่า "คุณต้องการนำ Computer มาใช้ทำอะไรบ้าง" คุณเป็นนักเล่นเกมส์ตัวยง หรือชอบใช้งานเกี่ยวกับมัลติมีเดียต่างๆ เช่นแชทกับเพื่อน ตัดต่อภาพ อัพโหลดเพลง หรือใช้งานไม่ค่อยบ่อย คุณต้องการคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเพื่อทำงานอยู่ที่บ้านเท่านั้น หรือโน้ตบุ๊กที่คุณสามารถพกพาไปใช้งานที่อื่นได้ งานอดิเรกที่คุณชอบ รวมทั้งกลุ่มเพื่อนและครอบครัวของคุณ พวกเขาใช้คอมพิวเตอร์เพื่อติดต่อสื่อสารกันด้วยรึเปล่า ซึ่งแน่นอนว่าคุณจะเป็นคนที่ตอบคำถามข้างต้นได้ดีที่สุด เมื่อได้คำตอบแล้วเราไปดูหลักในการเลือกซื้อข้อต่อไปกันเลย

ซีพียู (CPU) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor)
     เป็นอุปกรณ์ชิ้นหลัก เปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ซีพียูจะมีหน้าที่ประมวลผลคำสั่งต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีความเร็วที่สูงกว่าเดิมมาก และมีจำนวนแกน Core มากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ผลิต CPU 2 ค่ายดัง ได้แก่ Intel และAMD

เมนบอร์ด (Main Board)
              หลังจากเลือกค่ายผู้ผลิตได้แล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นจะเป็นการเลือก Main board ที่ต้องการใช้งาน โดยต้องเลือกให้รองรับกับ CPU ที่เลือกไว้ โดยยี่ห้อที่เป็นที่นิยมได้แก่ Asus, Gigabite, Intel, ... ซึ่งการเลือกเมนบอร์ดจะต้องดูข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยว่ารองรับอะไรบ้าง

แรม (RAM) หรือ หน่วยความจำ (Memory)
  การเลือก RAM จะพิจารณาในเรื่องของ ประเภทของ RAM ซึ่งปัจจุบันจะนิยม DDR3 ที่มีความเร็วสูกว่า DDR2 จากนั้นจะความจุของ RAM ปัจจุบัน RAM ที่จะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ควรต่ำกว่า 2 GB ส่วนเรื่องจำนวน Slot, ความเร็ว RAM อาจจะต้องพิจารณาร่วมกับข้อจำกัดของ Main Board ด้วย สำหรับการรับประกันส่วนใหญ่จะ Life Time กันหมดแล้ว ยี่ห้อที่เป็นที่นิยมได้แก่ Kingston, Kingmax, ...

หลักการเลือกคอมพิวเตอร์


หลักการเลือกคอมพิวเตอร์     ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการทำงานของหลายองค์กร ทั้งการพิมพ์เอกสาร จัดเก็บข้อมูล นำเสนอผลงาน รวมทั้งการออกแบบงานต่างๆ ซึ่งลักษณะของงานจะมีความแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้และคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่จ่ายไป ผู้ใช้ควรศึกษาถึงหลักการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงและทำความเข้าใจอย่างละเอียดก่อนจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ซึ่งอาจปฎิบัติตามแนวทาง ดังนี้.๑ การสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับการสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม จะทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับงานมากที่สุด ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องรู้ระดับการใช้งานของตนเอง เพื่อสามารถกำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมได้ต่อไป การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น อาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งตามประเภทของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้ระดับผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้มือใหม่ ผู้ใช้ทั่วไปเป็นผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ และเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น Microsoft Office เพื่อจัดทำเอกสาร รายงานเพื่อนำเสนอ หรือาจจะใช้โปรแกรม Photoshop

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 
หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน 

ซอฟต์แวร์ (Software) 
หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ ดังนี้

การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ สร้างขึ้นเพื่อใช้แก้ปัญหาต่างๆทั้งในรูปแบบที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์ ซึ่งปฎิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรมที่ตั้งไว้สำหรับการทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีขึ้นตอนการทำงานพื้นฐาน ๔ ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ ๑ รับข้อมูล (input) เป็นการนำข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆเช่น การพิมพ์ข้อความเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้แป้นพิมพ์ การบันทึกเสียงโดยผ่านไมโครโฟน เป็นต้น
ขั้นที่ ๒ ประมวลผลข้อมูล (process) เป็นการนำข้อมูลมาประมวลผลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศ เช่น การนำข้อมูลที่รับเข้ามาหาผลรวม เปรียบเทียบคำนวณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์สำหรับประมวลที่สำคัญ คือ หน่วยประมวลผลกลาง
ขั้นที่ ๓ จัดเก็บข้อมูล (storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลชั่วคราวในขณะที่มีการประมวลผลแรม รวมถึงจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสถ์ (hard disk) แฟลชไดร์ฟ (flash drive) เป็นต้น
ขั้นที่ ๔ แสดงผลข้อมูล (output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ กล่าวคือ อยู่ในรูปแบบของข้อความ ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผลต่างๆเช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
จากขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ทั้ง ๔ ขั้นตอน จะมีการทำงานประสานกัน โดยเริ่มจากการรับข้อมูลและคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นข้อมูลและคำสั่งซึ่งอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและส่งไปจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว จากนั้นเมื่อมีคำสั่งให้ประมวลผล ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บชั่วคราวจะถูกส่งไปประมวลผล เป็นผลลัพธ์หรือสารสนเทศ ซึ่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศจะถูกส่งไปแสดงผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยผลลัพธ์จากการประมวลผลจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ และหากต้องการเก็บผลลัพธ์ไว้ใช้ในภายหลัง ผลลัพธ์จะถูกนำไปจัดเก็บ สำหรับการเรียกใช้ได้อย่างถาวร การทำงานทั้ง ๔ ขั้นตอนดังกล่าว เรียกว่า วงจรการทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอ

พ่อของฉัน


           พ่อคือผู้มีพระคุณและเป็นผู้มีฟระคุณต่อเราต้องทำงานหนักเพื่อลูก ต้องทนตากตำทำงานหนักเพื่อลุกที่เขารััก เขาคือคนที่รักเราจริงและคอยดูแลเราเมื่อมีเรื่องที่หนักใจพ่อก้คอยช่วยเป็นที่พึ่งลุกและเป็นที่พึ่งของผม ผมรุ้ดีใจที่ท่านคอยเป็นที่ปรึษาเวลาผมเหนื่อและท้อเขาคอยมาดูแลและคอยถามเมื่อมีปัญหาหนักใจ ชีวิตีนี้ถ้าไม่มีพ่อก็ไม่มีผมความรักที่พ่อมีให้ไม่สามารถบรรยายเป็นคำบรรยายได้เขาคือคนที่ผมจะรักและคิดถึง ถึงแม้จะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆก็สามารถทำให้ผมอบอุ่นใจ เวลาผมอยู่กับกับผมรุ้สึกดีใจที่มีพ่อ ชีวิตนี้ไม่ดีเลิศไปกว่าพ่อที่รักเราจริง ต่อให้เราทำผิดแค่ไหนท่านก็คอยปรอบใจ พ่อจะอยู่ในใจผมถึถงแม้จะเป็นแค่ความฝัน ที่เวลาตื่นท่านก็หายไปไม่พ่อไม่แค่ความฝันพ่อคือความจริงที่คอยยังอยู่ข้างกายไปตลอด ต่อให้เราล้มหรือเราพลาดท่านก็ไม่เคยข้ามผ่านไปแต่กับหยุดและเดินไปพร้อมกันเรา ท่านจะคอยอธิฐานให้เราประสบความสำเร็จ ท่านจะคอยดีใจไปกับเราเมื่อเราทำสิ่งที่ฝันสำเร็จลงได้ครอบครัวของฉันประกอบด้วย พ่อ แม่ พี่สาวสองคนและฉัน เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวของฉันมีมาก จึงทำให้พ่อต้องทำงานอย่างหนัก  ในตอนแรกพ่อของฉันปั่นจักรยานขายไอศกรีมแต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจทำให้เงินไม่พอที่จะเลี้ยงครอบครัว ในบ้านของฉันตอนนั้นเรียกได้ว่าข้าวสารแทบไม่มีกรอกหม้อ พ่อจึงอดอาหารเพื่อให้ฉันและพี่ๆได้อิ่ม พ่อของฉันจึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพไปทำงานที่โรงฆ่าสัตว์ เพราะรายได้ที่จะได้รับมากกว่า พ่อของฉันไม่ชอบฆ่าสัตว์ ฉันคิดว่าพ่อคงไม่อยากทำอาชีพนี้เท่าไรนัก พ่อฉันกล่าวว่า “พ่อรู้ว่างานนี้เป็นงานที่บาปแต่พ่อก็พร้อมที่จะทำเพื่อครอบครัวของพ่อ ขอให้เป็นอาชีพที่สุจริต คนเราเลือกเกิดไม่ได้ ถ้าพ่อเลือกเกิดได้พ่อก็อยากมีฐานะการเงินที่ดี ลูกๆของพ่อจะได้สบายแต่พ่อก็พร้อมที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกๆของพ่อสบายและมีความสุข” หลังจากนั้นครอบครัวของฉันมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พ่อจึงส่งฉันเข้าเรียนในโรงเรียนที่ดีๆ เพื่อในอนาคตจะได้ไม่ลำบาก พ่อตัดสินในเลิกทำอาชีพนี้และนำเงินเก็บที่มีอยู่ดัดแปลงบ้านเปลี่ยนเป็นอู่ซ่อมรถเล็กๆ ร้านของพ่อไม่เคยมีวันหยุด แต่เมื่อใดที่พ่อมีเวลาว่าง พ่อมักจะสอนข้อคิดดีๆเสมอ โดยยกตัวอย่างความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับพ่อ ยกตัวอย่างเช่น พ่อสอนให้ฉันมองคนอย่างเท่าเทียมกันไม่เขาจะพิการ จน หรือ รวย แต่เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกับเรา “คนเราเลือกเกิดไม่ได้